Notice: Trying to get property 'child' of non-object in /home/ephclubc/domains/bethailand.com/public_html/angthong/wp-content/themes/jnews/class/ContentTag.php on line 45
วันนี้ (22 มิ.ย.64) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อัปเดตผลการตรวจสายพันธุกรรมโควิด เพื่อควบคุมโควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่ามีการเฝ้าระวังทุกสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนเม.ย.64 ถึงวันที่ 20 มิ.ย.64 พบสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) จำนวน 5,641 ตัวอย่าง สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 666 ตัวอย่าง ซึ่งสัปดาห์นี้พบเพิ่มขึ้น 170 คน และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 38 ตัวอย่าง เพิ่มขึ้น 7 คน
สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) พบเพิ่มในเขตสุขภาพที่ 4 ( นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก) จากเดิมจำนวน 40 คน เพิ่มขึ้น 65 คน รวม 105 คน ส่วนเขตสุขภาพ 13 กรุงเทพฯ จากเดิม 404 คน พบเพิ่มอีก 89 คน รวมเป็น 493 คน
ส่วนสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จากข้อมูลการเฝ้าระวังของกรมวิทย์ฯ ขณะนี้ยังพบในภาคใต้ จำนวน 38 คน โดยพบในเขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 2 คน และเขตสุขภาพที่ 12 จากเดิม 28 คน พบเพิ่มอีก 5 คน รวม 33 คน ทั้งนี้จากการติดตามเด็กนักเรียนใน จ.ยะลา เบื้องต้นพบมีทั้งสายพันธุ์อัลฟา และสายพันธุ์เบตา ซึ่งขณะนี้หน่วยงานสาธารณสุขกำลังติดตามหาต้นตอว่าติดเชื้อมาจากที่ไหน และกำลังเร่งติดตามว่าเชื้อมีการกระจายไปจังหวัดอื่นๆ หรือไม่ สำหรับผลการตรวจเด็กนักเรียนที่ จ.สมุทรปราการ และ จ.ตราด ที่กลับมาจาก จ.ยะลา ผลตรวจไม่พบเชื้อโควิด ซึ่งขณะนี้เด็กอยู่ระหว่างกักตัวเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์เบตา ที่พบในภาคใต้ แพร่ระบาดไม่เร็ว จึงไม่น่าวิตกกังวล ถ้าคุมโรคได้เร็วอาจจบลงในพื้นที่ๆ พบผู้ป่วย
ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ประมาณ 1.4 เท่า จึงไม่แปลกที่สายพันธุ์เดลตาจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า สายพันธุ์เดลตาจะเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดเกือบทั่วโลก ในอนาคตก็อาจจะมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น ตามวัฏจักรจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน
“วัคซีนทุกตัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พัฒนามาจากสายพันธุ์ดั้งเดิม คือสายพันธุ์อู่ฮั่น เมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนไปประสิทธิภาพของวัคซีนก็เปลี่ยนไป และเชื่อว่าในอนาคตทุกบริษัทก็จะผลิตวัคซีนให้ทันกับสายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยสายพันธุ์อัลฟา ลดประสิทธิภาพของวัคซีนที่ผลิตมาก่อนไม่มาก และคงยังใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดี” ศ.นพ.ยงกล่าว
ศ.นพ.ยง ระบุด้วยว่าขณะนี้ประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา และมีแนวโน้มที่จะเกิดสายพันธุ์เดลตาเข้ามาแทนที่ สิ่งที่เราจะทำได้ก็คงจะต้องช่วยกันควบคุมป้องกัน ให้สายพันธุ์เดลตาระบาดในไทยช้าที่สุด และปรับกลยุทธ์การให้วัคซีนเพื่อควบคุมโรคในอนาคตให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดตามทรัพยากรที่เรามีอยู่ จนกว่าจะมีวัคซีนรุ่นที่ 2 ที่เฉพาะเจาะจงกับไวรัส
สำหรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ศ.นพ.ยง ได้ยกตัวอย่างวัคซีนโรคตับอักเสบบี และบาดทะยัก ที่ต้องให้ถึง 3 เข็ม โดยเข็มแรกเพื่อป้องกันโรค เข็มที่ 3 เป็นวัคซีนตัวเดียวกัน กระตุ้นภูมิต้านทานได้มากกว่า 10 เท่า สำหรับวัควีนโควิดขณะนี้กำลังศึกษาจะให้เข็ม 3 ที่ 3 หรือ 6 เดือน ภูมิต้านทานจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า โดยจะเป็นวัคซีนตัวเดิมหรือแอสตราเซนเนกาก็ได้ ขึ้นอยู่กับความปลอดภัย ภายในเดือน มิ.ย.64 จะมีข้อมูลออกมา ขณะนี้จึงเป็นไปได้ว่าวัคซีนเข็มที่ 3 อาจฉีดได้ทั้งวัคซีนยี่ห้อเดิม และวัคซีนสลับยี่ห้อ
“สายพันธุ์เบตาเข้ามาในไทยก่อนสายพันธุ์เดลตา แต่พบสายพันธุ์เบตาเพียง 1% ขณะที่สายพันธุ์เดลตาพบการระบาดแล้ว 10 % ส่วนสายพันธุ์อัลฟา พบการระบาดถึง 90% วัคซีนที่มีอยู่ในขณะนี้จึงสามารถรับมือได้” หมอย