Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the jnews-like domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /home/ephclubc/domains/bethailand.com/public_html/angthong/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the jnews domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /home/ephclubc/domains/bethailand.com/public_html/angthong/wp-includes/functions.php on line 6114
ย้ายประเทศ : ฟังเหตุผลแม่ลูกสองผู้เพิ่งอ่านหนังสือออกตอนอายุ 18 ที่อยากให้ลูกย้ายประเทศ » อ่างทอง

ย้ายประเทศ : ฟังเหตุผลแม่ลูกสองผู้เพิ่งอ่านหนังสือออกตอนอายุ 18 ที่อยากให้ลูกย้ายประเทศ


Notice: Trying to get property 'child' of non-object in /home/ephclubc/domains/bethailand.com/public_html/angthong/wp-content/themes/jnews/class/ContentTag.php on line 45

เจนจิรา มีสุข

ที่มาของภาพ, เจนจิรา มีสุข

คำบรรยายภาพ,

แม่ลูกสองคนนี้มองว่าที่กลุ่มเฟซบุ๊กที่ให้ข้อมูลเรื่องการย้ายประเทศได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะ “ความรู้สึกอึดอัด”

“หนูไม่ได้รังเกียจประเทศตัวเองหรือบ้านตัวเอง ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากอยู่บ้านหนู ไม่อยากออกไปเสี่ยงดวงที่ไหนอยู่แล้ว แต่ก็อย่างที่เห็นอะค่ะ…” เจนจิรา มีสุข (นามสมมติ) บอกกับบีบีซีไทย

“อย่างที่เห็นอะค่ะ” หมายความถึงสภาพที่ประเทศไทยเป็นอยู่ในหลายแง่มุม ทั้งเรื่องการเมือง กระบวนการยุติธรรม ไปจนถึงระบบสวัสดิการ

และความรู้สึกของหญิงวัย 28 ปีผู้นี้ก็สะท้อนความรู้สึกของสมาชิกหลายคนในกลุ่มเฟซบุ๊ก “ย้ายประเทศกันเถอะ” (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “โยกย้าย มาส่ายสะโพกโยกย้าย”) ที่ตอนนี้มีสมาชิกกว่า 9 แสนรายแล้วทั้ง ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่กี่วัน

เจนจิราโพสต์ลงในกลุ่มว่า “คิดอยู่นานว่าจะโพสต์ดีไหม รู้สึกอับอายมาก เรามาจากครอบครัวไร้คุณภาพ หรือที่เขาเรียกกันว่าตลาดล่าง เราเรียนไม่จบ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้…” และขอคำแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อผลักดันให้ลูกสาวสองคนได้ “ออกไปจากประเทศนี้ อยากให้เขาได้โรงเรียนที่มีคุณภาพ ชีวิตดี ไม่ต้องมาเจออะไรเลวร้ายเหมือนที่แม่เขาเคยเจอ…”

เธอบอกบีบีซีไทยว่าที่ก้าวข้าม “ความอับอาย” นั้นได้ก็เพราะเพื่อลูก “ถ้าเราไม่พูดออกไป… ลูกเราจะอยู่แค่นี้”

ที่มาของภาพ, facebook/ย้ายประเทศกันเถอะ

อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

เจนจิราเล่าว่าชีวิตไม่ได้แย่หลังจากที่เธอต้องย้ายไปอยู่กับปู่ย่าที่ จ.อ่างทองเพราะพ่อแม่ “ไม่มีศักยภาพ ไม่พร้อมอะไรเลย…” แต่ชีวิตที่ไม่ได้แย่นั้นก็ยืนยาวอยู่แค่จนเธอมีอายุ 3 ขวบเท่านั้น เพราะเธอต้องย้ายไปอยู่กับยายที่ จ.อำนาจเจริญ และจากนั้นเป็นต้นมา ทั้งปัญหาครอบครัว สภาพสังคม และระบบการศึกษา ก็ไม่เอื้อให้เธอเรียนหนังสือได้อย่างราบรื่นอีกเลย

เธอเล่าว่า ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ในตอนนั้นคือเด็กไม่จำเป็นต้องมีความรู้มาก “ป.6 แล้วก็ให้มันออกจากโรงเรียน ให้ไปพัทยา ไปภูเก็ต ไปหาผัวฝรั่ง คือจับผู้ชายรวย ๆ เพื่อที่จะได้มีชีวิตที่ดี”

นอกจากนี้ โรงเรียนประถมของเธอ แม้จะมีนักเรียนถึงร้อยคนแต่มีครูแค่ 6 คน และไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง ประกอบกับที่ยายเธอเองก็ไม่รู้หนังสือ ทำให้ไม่สามารถช่วยเรื่องการบ้านได้ ส่งผลให้เธอไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ พออายุได้ 13 ปี เจนจิราย้ายมาอยู่กับพ่อแม่ที่กรุงเทพฯ เข้าเรียนชั้น ม.1 แต่ก็ยังไม่รู้หนังสืออยู่ดี และไม่กล้าบอกพ่อแม่

และเมื่อต้องเผชิญปัญหาชีวิตส่วนตัวที่ถาโถมเข้ามา เธอตัดสินใจหนีออกจากบ้านตอนอายุ 14 ปี และเพิ่งมาเรียนรู้การอ่านและเขียนได้ด้วยตัวเองตอนอายุ 18 ปี และมีลูกสองคนแล้วในตอนนั้น

ขี้เกียจเองเหรือเปล่า ?

เจนจิราเคยบอกเล่าเรื่องตัวเองลงบนโซเชียลมีเดียมาก่อน แต่ต้องเจอกับปฏิกิริยาลบ ๆ กลับมา หาว่าเธอขี้เกียจเอง และบอกว่าเธอใจแตก แต่ในกลุ่ม “ย้ายประเทศกันเถอะ” เธอบอกว่าได้ทั้งกำลังใจและคำแนะนำดี ๆ

เธอยอมรับว่าเธอเองอาจจะมีส่วนผิด แต่ก็พยายามชี้ให้เห็นว่าระบบการศึกษาในประเทศไทยมีปัญหาจริง ๆ “เราไปเรียนต่างจังหวัดเหมือนเราไปอยู่บนดอย ไม่มีมาตรฐานอะไรเลย บุคลากร คุณครู ทำให้เราเป็นแบบนี้”

ที่มาของภาพ, facebook/ย้ายประเทศกันเถอะ

คำบรรยายภาพ,

กลุ่มเฟซบุ๊ก “ย้ายประเทศกันเถอะ” (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “โยกย้าย มาส่ายสะโพกโยกย้าย”) มีสมาชิกกว่า 9 แสนรายแล้วทั้ง ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่กี่วัน

ตอนออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเอง เจนจิราบอกว่าได้ไปเจอผู้คนในสังคมที่หลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตอนที่ไปทำงาน “โรงงานปักผ้าของคนอินเดีย คัดส้มที่ตลาดไท เป็นเด็กเสิร์ฟ”

อยู่มาวันหนึ่ง คนรู้จักคนหนึ่งก็แนะนำให้เธอซื้อสมาร์ตโฟน นับเป็นครั้งแรกที่เธอ “ได้เห็นไลน์เป็นครั้งแรก ได้เห็นทุกอย่าง” คนรู้จักคนนั้นสมัครเฟซบุ๊กให้ แต่ “เราเล่นไม่เป็น …รู้สึกว่าเลื่อนไปมันมีอะไรน่าสนใจแต่เสียดายอ่านไม่ออก”

เรียนจากยูทิวบ์

ที่มาของภาพ, เจนจิรา มีสุข

คำบรรยายภาพ,

เจนจิราวางแผนให้ลูกสาวคนโตสอบชิงทุนไปเรียน ม. ปลาย ที่สิงคโปร์

และแล้วคนที่ทำให้เธออ่านออกเขียนได้ก็ไม่ใช่ครู 6 คนที่โรงเรียนแห่งนั้นใน จ.อำนาจเจริญ แต่เป็นคลิปในยูทิวบ์ที่สอนตั้งแต่ “ก เอ๋ย ก ไก่” ที่เธอนอนฟังจนหลับทุกวันหลังเลิกงาน

แต่เธอก็ยังอ่านหนังสือไม่ออกอยู่ดี จนกระทั่งลองจำเป็นคำ ๆ ไปแล้วลองเขียนตาม

“จำตัวอักษร คำนี้มันมีตัวอะไรบ้าง อักษรอะไรบ้าง อย่างคำว่า ‘คำ’ มันก็จะมี ค ควาย สระอำ ใช่ไหมคะ เราก็จะจำ” เจนจิราเล่าให้บีบีซีไทยฟัง

ผ่านไปราวหนึ่งปี เจนจิราเล่าว่า “ค่อยพอได้” แชตผิด ๆ ถูก ๆ คุยกับเพื่อนทางเฟซบุ๊กจนคล่องแคล่วขึ้นในที่สุด

จากข้อมูลโดยธนาคารโลก อัตราการอ่านออกเขียนได้ของคนไทยอายุระหว่าง 15-24 ปี ในปี 2018 อยู่ที่กว่า 98.1% เทียบกับเมื่อปี 1980 ที่อยู่ที่ 96.8%

เจนจิรายอมรับว่า “ไม่เคยคิดถึงลูกเลย… ความคิดคือไม่ต้องเรียนเยอะหรอก เดี๋ยวก็หาสามีรวย ๆ เกาะเอา” แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อเริ่มอ่านหนังสือได้ และได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น “ได้เห็นโลกกว้างในสังคม แล้วก็เริ่มมองย้อนกลับไปว่าช่วงชีวิตเราเจออะไรมาบ้าง เราต้องเจอะระบบอะไรมาบ้าง”

ที่มาของภาพ, facebook/ย้ายประเทศกันเถอะ

คำบรรยายภาพ,

เจนจิราบอกว่าได้รับคำแนะนำดี ๆ หลังจากเข้าไปโพสต์ถามเรื่องการย้ายไปต่างประเทศให้ลูกสาว

แม่ลูกสองคนนี้มองว่าที่กลุ่มเฟซบุ๊กที่ให้ข้อมูลเรื่องการย้ายประเทศได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะ “ความรู้สึกอึดอัด”

“เราทนอยู่กับอะไรที่ไม่พัฒนาแล้วมองไม่เห็นอนาคตมาเป็นระยะเวลาที่นาน” เจนจิรากล่าว เธอบอกว่าพยายามหาข้อมูลทั้งภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษก็ใช้กูเกิลช่วยแปล

“เรารับรู้ความเจริญที่มันตรงข้ามกับประเทศเรา ทำไมเขาทำได้ ทำไมเรายังหยุดอยู่แค่นี้ แล้วเราพยายามหาว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน เริ่มรู้ว่าโครงสร้างของประเทศนี้มันพังอะ มันบิดเบี้ยวไปหมดเลย มันยากที่จะแก้ไขแล้วอะ”

เมื่อถามถึงประเทศในอุดมคติที่อยากให้ลูกย้ายไปอยู่ เจนจิราบอกว่าอยากให้เป็นประเทศที่กฎหมายไม่บิดเบี้ยว ผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่ดี และมีโครงสร้างทางสวัสดิการที่ดี

หลังจากได้คำแนะนำของคนในกลุ่มดังกล่าว ตอนนี้เธอวางแผนจะให้ลูกคนโตที่กำลังจะขึ้น ม.1 พยายามฝึกภาษาอังกฤษและสอบชิงทุนไปเรียน ม.ปลาย ที่สิงคโปร์

“ไปน่าจะดีกว่า ถึงอยู่มันก็มองไม่เห็นอนาคตของลูก ถึงตัวหนูจะไม่ได้ไปแต่ขอให้ลูกได้ออกไป แค่นั้น”

อ่างทอง

อ่างทอง

พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน

Next Post

บทความ แนะนำ

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.